คุยกับน้องดินดี
AI Chatbot

กระดานโต้ตอบ
Web board

รับเรื่องร้องเรียน

ประเมินความพอใจการขอรับบริการ

ข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงาน

คลังมัลติมีเดีย



นายอธิวัฒน์ สิทธิภิญญาพัฒน์
ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน


คลังความรู้บำรุงดินเพิ่มผลผลิต


น้ำหมักชีวภาพสูตร 1 กรมพัฒนาที่ดิน

ปุ๋ยหมักสูตรกรมพัฒนาที่ดิน

ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตรกรมพัฒนาที่ดิน

ผลของปุ๋ยชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพต่อการเติบโต ผลผลิตและคุณภาพ กล้วยหอมทองอินทรีย์เพื่อการส่งออก ในกลุ่มชุดดินที่ 7

ศึกษาระยะเวลาการหมักมูลสุกรโดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ในการผลิตน้ำหมักเพื่อเพิ่ม ผลผลิตข้าว

ศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับน้ำหมักชีวภาพในการปลูกข้าวอินทรีย์ (พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105) ในกลุ่มชุดดินที่ 18 ชุดดินหนองบุนนาก พื้นที่นอกเขตชลประทาน จังหวัดนครราชสีมา

อิทธิพลจากการใช้หินฟอสเฟตร่วมกับการใช้ปุ๋ยชีวภาพ พด. 12 และพืชปุ๋ยสดเพื่อเพิ่มผลผลิตและความอุดมสมบูรณ์ของดินของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในชุดดินจักราช จังหวัดนครราชสีมา

ศึกษาการใช้น้้าหมักชีวภาพ และจุลินทรีย์ต่อการย่อยสลายตอซังข้าว การปลดปล่อยไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์และการปลูกข้าวสุพรรณบุรี 1 ในชุดดินเดิมบาง

การสำรวจและศึกษาความหลากหลายของจุลินทรีย์ดินที่เป็นประโยชน์ในพื้นที่เกษตรทั่วไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย


ข่าวกิจกรรม


Card image

9 เมษายน 2567

วันที่ 9 เมษายน 2567 เวลา 09.30 น. นายอธิวัฒน์ สิทธิภิญญาพัฒน์ ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน จัดกิจกรรมส่งมอบน้ำหมักชีวภาพ พด.6 สำหรับครัวเรือนและสิ่งแวดล้อมภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา และเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครบรอบ 132 ปี และวันข้าราชการพลเรือนในวันที่ 1 เมษายน พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ จากกองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กองแผนงาน กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน และสำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดินเข้าร่วมกิจกรรมด้วย ณ ชุมชนหมู่บ้านอยู่เจริญพัฒนา เขตจตุจักร กทม. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 2. การใช้ผลิตภัณฑ์ลินทรีย์สารเร่งซุปเปอร์ พด.6 และการผลิตสารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็นในรูปแบบน่าใช้ 3. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของน้ำเสียชุมชน เมื่อมีการเติมสารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็นผลิตจากผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์สารเร่ง ซุปเปอร์ พด.6 ในชุมชนต้นแบบของกรุงเทพฯ โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุนน้ำหมักชีวภาพ พด.6 ชุมชนหมู่บ้านอยู่เจริญ 178 ครัวเรือน ซึ่งการผลิตจากวัสดุธรรมชาติจากสับปะรด และใบเตยใช้ในบำบัดน้ำเสีย และขจัดกลิ่นเหม็น และน้ำยาเอนกประสงค์ทำความสะอาดใช้ในครัวเรือน เพื่อให้รักษาสภาพน้ำที่ดี ก่อนไหลลงสู่คลองระบายน้ำชุมชน เป็นต้นทางเริ่มต้นของการรักษาคุณภาพน้ำก่อนไหลรวมกันสู่ปลายน้ำ โดยโครงการดังกล่าวจะทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นต้นแบบให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมน้ำที่ดี ขับเคลื่อนให้ครอบคลุมพื้นที่ กทม. ลดมลพิษ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีโดยได้รับเกียรติจากสก. เขตจตุจักร (นายอภิวัฒน์ ด่านศรีชาญชัย) ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตจตุจักร (นายกษิระ ศรีเจริญ) ประธานชุมชนหมู่บ้านอยู่เจริญ (นายธรรมวัฒน์ เครือจรัสสกุล)และคณะกรรมการชุมชนหมู่บ้านอยู่เจริญ รับมอบจำนวนทั้งหมด 80 แกลลอน

Card image

27 มีนาคม 2567

วันที่ 27 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. นายอธิวัฒน์ สิทธิภิญญาพัฒน์ ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน พร้อมด้วย รักษาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ พร้อมด้วย ผอ.กลุ่มฯ และนักวิชาการ ร่วมหารือแนวทางการขับเคลื่อนศูนย์ชีวภาพชุมชน กรมพัฒนาที่ดิน กับ น.ส. มยุรี อบสุข ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินอุบลราชธานี และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยอาจารย์ ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านเห็ดและผู้ก่อตั้ง สถาบันอานนท์ไบโอเทค และนายศุภชัย พันธุกานนท์ ได้แลกเปลี่ยนแนวทางการปลูกเห็ดและสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากเห็ด โดยมีประเด็นการจัดตั้งศูนย์ชีวภาพชุมชนในแต่ละจังหวัด โดยนำร่องที่จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากมีพื้นที่ที่หมอดินอาสาและเครือข่ายมีการศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับไมคอร์ไรซ่า และการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่น ร่วมกับการใช้ถ่านไบโอชาร์ในการกักเก็บความชื้นดิน และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ และเข้าดูงานในพื้นที่เกษตรกร 3 ราย ทั้งนี้ ได้เข้าดูงานในพื้นที่ 3 จุดของเครือข่าย ดังนี้ 1.หมอดินพงพรรณ์ ค้าเจริญ 2. บ้านสวนลุงหนวดปะอาว เรียนรู้การเพาะเห็ดป่านอกฤดู การขยายเชื้อราไมคอร์ไรซาด้วยขุยไผ่ การเก็บรักษาเชื้อเห็ดในเจลโพลิเมอร์ และการผลิตเห็ดไมคอร์ไรซาแบบฝังเม็ดปุ๋ย และ 3.หมอดินวิทยา บัณฑิต การใช้เชื้อราไมคอร์ไรซา การทำน้ำหมักชีวภาพ พด.2 การล่อเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่นด้วยข้าวสวย การขยายเชื้อและการใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ร่วมกับการทำสวนยาพารา เพื่อเพิ่มผลผลิตและทำให้มีเห็ดไว้บริโภคในครัวเรือน

ความร่วมมือ/การศึกษาดูงาน


Card image

2 พฤษภาคม 2559

โครงการวิจัยและพัฒนาร่วมภายใต้ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการไทย-จีน Joint Research and Development Project Under the twenty first Session of the Sino-Thai Scientific and Technical Cooperation “Research and Development of Biofertilizer and Biocontrol to Increase Cash Crop Production" วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชุมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประมวลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ในการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อผลิต ปุ๋ยชีวภาพ และจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช 2. เพื่อศึกษาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยชีวภาพ และผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ทางการเกษตร 3. เพื่อประสานความร่วมมือ พัฒนาความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการด้านจุลินทรีย์ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพระหว่างนักวิจัยทั้งสองประเทศ ระยะเวลา มกราคม 2558- พฤศจิกายน 2559 ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ 1. ได้องค์ความรู้และข้อมูลผลงานวิจัยจุลินทรีย์เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ปุ๋ยชีวภาพ และควบคุมโรคพืช 2.ได้วิธีการศึกษาและวิจัยจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพและควบคุมโรคพืชเพื่อเพิ่มผลผลิตพืช 3. พัฒนากระบวนการและเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ในระดับโรงงานขนาดกลาง และขนาดใหญ่ และเน้นการผลิตที่เป็นระบบ 4. ได้เรียนรู้ระบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยชีวภาพจากหน่วยงานภาครัฐสู่การลงทุนภาคเอกชนและขยายผลสู่แปลงเพาะปลูกของเกษตรกร